วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เรียนรู้ “ชนิดของยาเสพติด”

แบ่งได้ตามลักษณะที่หลากหลาย

 
ยาเสพติด สามารถแบ่งได้ ตามลักษณะต่างๆ ดังนี้

ก. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ได้แก่

1. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตได้มาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา
2. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน


ข. แบ่งตามพราะราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้แก่

ประเภท 1  ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงไม่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น เฮโอีน (Heroin) แอมเฟตามีน (Amphetamine) เมทแอมเฟตามีน (Metham phetamine) แอลเอสดี (LSD) เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) หรือ MDMA

ประเภท 2  ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น (Opium) มอร์ฟีน (Morphine) โคเคนหรือโคคาอีน เมทาโดน (Methadone)

ประเภท 3  ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนผสมอยู่

ประเภท 4  สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อะเซติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride) อะเซติลคลอไรด์ (Acetylchloride) เอทิลิดีนไดอาเซเตด (Ethylidinediacetate) ไลเซอร์จิค อาซิค (Lysergic Acid)

ประเภท 5  ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น พืชกัญชา พืชกระท่อม พืชผิ่น (ซึ่งหมายความรวมถึงพันธุ์ฝิ่น เมล็ดฝิ่น กล้าฝิ่น ฟางฝิ่น พืชเห็ดขี้ควาย)


ค. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ได้แก่

1.  ยาเสพติดประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท สารระเหย

2.  ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน

3.  ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย

4.  ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาร (อาจกด กระตุ้นหรือหลอนประสทร่วมกัน) เช่น กัญชา


ง. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลกได้จัดแบ่งยาเสพติดออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่
1.  ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เช่น ฝิ่น มอร์พีน เฮโรอีน เพธิดีน

2.  ประเภทบาบิทูเรทรวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน เช่น เซโคบาร์บิตาล อะโมบาร์บิตาล พาราลดีไฮล์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม คลอไดอาชีพอกไซด์

3.  ประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้

4.  ประเภทแอมเฟตามีน เช่น แอมเฟตามีน เดกซ์แอมเฟตามีน

5.  ประเภทโคเคน เช่น โคเคนใบโคคา

6.  ประเภทกัญชา เช่น ใบกัญชา ยางกัญชา

7.  ประเภทคัท เช่น ใบคัท ใบกระท่อม

8.  ประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เมสคาลีน เมล็ดมอร์นิ่งโกลลี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด

9.  ประเภทอื่นๆ เป็นพวกที่ไม่สามารถเข้าประเภทใดได้ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด บุหรี่

รูปของสิ่งเสพติด







วันต่อต้านยาเสพติดโลก

สถาบันบำบัดผู้ติดยาเสพติด

ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาล และคลีนิกยาเสพติด ในศูนย์บริการสาธารณสุข
      สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้แก่
โรงพยาบาล
     ๑.  โรงพยาบาลราชวิถี โทร. ๐ - ๒๒๔๖ - ๐๐๕๒ ต่อ ๔๓๐๒
     ๒.  โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า โทร. ๐ - ๒๒๔๖ - ๑๔๐๐ ถึง ๑๔๒๘ ต่อ ๓๑๘๗
     ๓.  โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ โทร. ๐ - ๒๔๑๑ - ๒๔๑๙๑
     ๔.  โรงพยาบาลนิติจิตเวช โทร ๐ - ๒๔๔๑ - ๙๐๒๖ - ๙
     ๕.  โรงพยาบาลตากสิน โทร. ๐ - ๒๘๖๓ - ๑๓๗๑ ถึง ๒, ๐ - ๒๔๓๗ - ๐๑๒๓ ต่อ ๑๑๕๓,๑๒๔๘

          ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาล และคลีนิกยาเสพติด ในศูนย์บริการสาธารณสุข
      สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้แล้ว
 
คลินิกยาเสพติดในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กทม.
     ๑.  คลินิกยาเสพติด ๑ ลุมพินี โทร. ๐ - ๒๒๕๐ - ๐๒๘๖
     ๒.  คลินิกยาเสพติด ๒ สี่พระยาโทร. ๐ - ๒๒๓๖ - ๔๑๗๔
     ๓.  คลินิกยาเสพติด ๓ บางอ้อโทร. ๐ - ๒๔๒๔ - ๖๙๓๓
     ๔.  คลินิกยาเสพติด ๔ บางซื่อโทร. ๐ - ๒๕๘๗ - ๐๘๗๓
     ๕.  คลินิกยาเสพติด ๕ ดินแดน โทร. ๐ - ๒๒๔๕ - ๐๖๔๐
     ๖.  คลินิกยาเสพติด ๖ วัดธาตุทอง โทร. ๐ - ๒๓๙๑ - ๘๕๓๙
     ๗.  คลินิกยาเสพติด ๗ สาธุประดิษฐ์ โทร. ๐ - ๒๒๘๔ - ๓๒๔๔
     ๘.  คลินิกยาเสพติด ๘ ซอยอ่อนนุช โทร. ๐ - ๒๓๒๑ - ๒๕๖๖
     ๙.  คลินิกยาเสพติด ๙ บางขุนเทียน โทร. ๐ - ๒๔๖๘ - ๒๕๗๐
     ๑๐. คลินิกยาเสพติด ๑๐ สโมสรวัฒนธรรม โทร. ๐ - ๒๒๘๑ - ๙๗๓๐
     ๑๑. คลินิกยาเสพติด ๑๑ ลาดพร้าว โทร. ๐ - ๒๕๑๓ - ๒๕๐๙
     ๑๒. คลินิกยาเสพติด ๑๒ วงศ์สว่าง โทร. ๐ - ๒๕๘๕ - ๑๖๗๒
     ๑๓. คลินิกยาเสพติด ๑๓ ภาษีเจริญโทร. ๐ - ๒๔๑๓ - ๒๔๓๕
     ๑๔. คลินิกยาเสพติด ๑๔ คลองเตย โทร. ๐ - ๒๒๔๙ - ๑๘๕๒
     ๑๕. คลินิกยาเสพติด ๑๕ วัดไผ่ตัน โทร. ๐ - ๒๒๗๐ - ๑๙๘๕

การรักษาผู้ติดยาม้า

ผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้าส่วนใหญ่จะได้แก่ ผู้ที่ทำงานในเวลากลางคืน ผู้ใช้แรงงาน หรือผู้ที่ต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น พนักงานขับรถโดยสารหรือรถบรรทุก ผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้หญิงที่ทำงานกลางคืน ตลอดจนนักเรียน
นักศึกษาที่หักโหมในการดูหนังสือ เหตุที่เป็นคนเหล่านี้เพราะ คนเหล่านี้มักเข้าใจผิดคิดว่าหากใช้ยาม้าหรือยาบ้าแล้วจะสามารถทำงานหรือดูหนังสือได้นานมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ได้คำนึงถึงอันตรายและผลร้ายที่ตามมาภายหลัง ซึ่งได้แก่ สุขภาพจะทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิดใจ เพราะสมองถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา เมื่อยาหมดฤทธิ์จะอ่อนเพลีย เซื่องซึม เศร้าหมองและหลับนาน
ถ้าใช้เกินขนาดจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
 
          ดังนั้น การรักษาผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้าจะต้องประกอบไปด้วย
          1. การให้ความรู้เกี่ยวกับยาม้าหรือยาบ้าแก่ผู้เสพติดแล้ว ให้เข้าใจโดยถ่องแท้ถึงพิษของยาม้าหรือยาบ้า ที่มีต่อตัวผู้เสพติดทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อผู้เสพติดจะได้มีความกลัวต่อผลร้ายเหล่านั้น และมีความตั้งใจที่จะเลิกยาม้าหรือยาบ้าอย่างจริงจัง
 
          2. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมโดยรอบของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น ครอบครัวที่ขาดความเอาใจใส่ที่ดีพอ รวมทั้งเพื่อนฝูง หรือชุมชนโดยรอบๆ บ้านของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า ตลอดจนเพื่อนนักเรียนในโรงเรียนเดียวกัน ซึ่งต้องการการตรวจสอบหาข้อมูลอย่างจริงจัง หาข้อมูลให้ถึงแก่นแท้ของปัญหาจากสิ่งแวดล้อม และดำเนินการแก้ไขไปพร้อมๆ กับข้ออื่นๆ
 
          3. ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของผู้เสพติด และพ่อแม่ผู้ปกครองของผู้ที่ติดยาเสพติดที่จะต้องการละหรือเลิกเสพยาม้าหรือยาบ้าตลอดไปให้ได้
 
          4. ผู้เสพติดยาม้าหรือยาบ้า จะต้องไปรับการรักษาจากสถาบันทางการแพทย์ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะหายจากการเสพติดอย่างเด็ดขาด
 
          5. ความสำเร็จในการเลิกเสพติดยาม้าหรือยาบ้า ได้ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ ซึ่งนอกเหนือจากการช่วยตนเองแล้ว ท่านได้ช่วยเหลือครอบครัวของท่าน ท่านได้ช่วยเหลือสังคมโดยส่วนรวม อันหมายถึงประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรานั่นเอง

การป้องกันการติดยาเสพติด

การป้องกันการติดยาเสพติด
         ๑. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะ
ติดง่ายหายยาก
         ๒. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกัน อย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้อง
คอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยา-เสพติด   หากมีผู้เสพยาเสพติดในครอบครัว จงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล
ให้หายเด็ดขาด การรักษาแต่แรกเริ่มติดยาเสพติดมีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ
         ๓. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้เพื่อนบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
         ๔. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้ง
เจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 2527962 ,
0-252-5932   และ  ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)   สำนักนายกรัฐมนตรี
โทร. 2459350-9
 
          ยาเสพติดป้องกันได้

          ๑. ป้องกันตนเอง ทำได้โดย..
                • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
                • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
                • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
                • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
                • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดหากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษาผู้ใหญ่
 
          ๒. ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
               • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
               • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
               • ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
               • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด
 
          ๓. ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
                • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
                • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที ที่...
                • สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258 โทรสาร 02-2468526
                • ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688

เยาวชนกับการป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติด

 ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น  
          - ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน -ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้           - ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา
          - จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน  ใช้บ่อยๆ  ทำให้เกิดการเสพติด  ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย
 
          ๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา
          ๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น
              การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองเสพยาเสพติด
          ๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง
              ครอบครัว และสังคม
          ๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อม
              ไปสู่ชีวิตของตนเอง
          ๕.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล
          ๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม
              จะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต
          ๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น
              แนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น
          ๘. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็น
               สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง
 
การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวาของตนเอง

          ๑. ช่วย พ่อ แม่ สอดส่องดูแลน้องๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวมิให้กระทำสิ่งที่ผิด เช่น การคบเพื่อนที่ไม่ดี
              การมั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก ่สมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวด้วย เช่น               การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร
          ๒. ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกัน
              ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา
          ๓. เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะน้องๆให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของ
              ยาเสพติดวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย
          ๔. ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่การงาน
              ของพ่อ แม่ ภายในบ้าน